วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

การประเมินหลักสูตร


การประเมินหลักสูตร
                 การประเมินหลักสูตรเป็นส่วนที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อคุณภาพของหลักสูตร  ทั้งนี้เพราะการประเมินหลักสูตรจะทำให้รู้คุณค่าของหลักสูตรว่าเป็นอย่างไรสามารถจะนำไปใช้ได้ดีเพียงใด  ผลที่ได้จากการใช้หลักสูตรเป็นอย่างไร  ข้อมูลที่ได้จาการประเมินหลักสูตรจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณค่าสูงขึ้น  อันจะเป็นผลในการนำหลักสูตรไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ได้โดยสะดวก

ความหมายของการประเมินหลักสูตร
นักการศึกษาได้ให้ความหมายไว้  ลักษณะ  คือ  ความหมายแรกเป็นการให้ความหมายในแง่ที่เกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการทำการประเมิน  และความหมายที่สองจะให้ในแง่ของการประเมินผล  กล่าวคือ  การประเมินหลักสูตรหมายถึง การรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล  แล้วนำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินหาข้อบกพร่องหรือปัญหา  เพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไขส่วนประกอบทุกส่วนของหลักสูตรให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น  หรือการประเมินองค์ประกอบต่าง ๆ ของหลักสูตรว่ามีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด และเมื่อได้นำหลักสูตรไปใช้แล้วบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ต้องการหรือไม่ โดยในการประเมินหลักสูตรจะใช้เครื่องมือชนิดต่าง ๆ ที่มีความเหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล เช่น แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม เป็นต้น ทั้งนี้ผลที่ได้จากการประเมินจะถูกนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นต่อไป
จุดมุ่งหมายของการประเมินหลักสูตร
                1.  เพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไขสิ่งบกพร่องที่พบในองค์ประกอบต่างๆ ของหลักสูตรเพื่อที่จะพิจารณาว่าองค์ประกอบต่างๆ ของหลักสูตรมีความเหมาะสมและสอดคล้องหรือไม่  มีปัญหาอุปสรรคอะไร  จะได้เป็นประโยชน์แก่นักพัฒนาหลักสูตรและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบต่างๆ ของหลักสูตรให้มีคุณภาพดีขึ้นได้ทันท่วงที
                2.  เพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไขระบบการบริหารหลักสูตร
                3.  เพื่อช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหารว่าควรใช้หลักสูตรต่อไปอีกหรือควรยกเลิกการใช้หลักสูตรเพียงบางส่วนหรือยกเลิกทั้งหมด
                4.  เพื่อต้องการทราบคุณภาพของผู้เรียนซึ่งเป็นผลผลิตของหลักสูตรว่ามีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามความมุ่งหวังของหลักสูตรหรือไม่
ระยะของการประเมินหลักสูตร
                การประเมินหลักสูตรที่ดีจึงต้องตรวจสอบเป็นระยะเพื่อลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้น  โดยทั่วไปจะแบ่งเป็น  ระยะ  คือ
1.             การประเมินหลักสูตรก่อนนำหลักสูตรไปใช้
2.             การประเมินหลักสูตรระหว่างการดำเนินการใช้หลักสูตร
3.             การประเมินหลักสูตรหลังการใช้หลักสูตร
สิ่งที่ต้องประเมินในเรื่องหลักสูตร
                การประเมินความก้าวหน้า   เพื่อมุ่งการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรในช่วงเวลาต่างๆ กันเป็นสำคัญ  หรือจะเป็นการประเมินผลสรุป  เพื่อมุ่งการตัดสินว่าหลักสูตรนั้นควรดำเนินต่อหรือยกเลิก  ควรมีการประเมินให้ต่อเนื่องกัน  ดังนั้นการประเมินหลักสูตรจึงประกอบด้วยการประเมินสิ่งต่อไปนี้
1.              การประเมินเอกสารหลักสูตร
เป็นการตรวจสอบคุณภาพขององค์ประกอบต่างๆ ของหลักสูตรว่าจุดหมาย  จุดประสงค์  โครงสร้างเนื้อหาสาระ  และวิธีการวัดและประเมินผลนักเรียนมีความสอดคล้อง  เหมาะสม ครอบคลุม  และถูกต้องตามหลักการพัฒนาหลักสูตรหรือไม่  ภาษาที่ใช้สามารถสื่อให้เข้ใจและมีความชัดเจนในการนำไปสู่การปฏิบัติหรือไม่
การประเมินเอกสารหลักสูตรเป็นการการตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรว่ามีความเหมาะสมดีและถูกต้องกับหลักการพัฒนาหลักสูตรเพียงใด  การตรวจสอบเอกสารหลักสูตร  อาจทำได้โดยวิธีการดังต่อไปนี้
                        การตรวจสอบโดยคณะพัฒนาหลักสูตร
                        การตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ
                        การทดลองใช้หลักสูตร
                        การประเมินเอกสารหลักสูตรมักใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา  และใช้วิธีให้ผู้รู้  ผู้เชี่ยวชาญ  หรือผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการประเมิน  นอกจากนี้ยังสามารถใช้วิธีอื่นๆ  เช่น  การใช้การสัมภาษณ์  การตอบแบบสอบถาม  โดยกำหนดรายการและระดับที่ต้องการประเมิน  เป็นต้น
แนวทางในการพิจารณาตรวจสอบหลักสูตร
                  ในการตรวจสอบหลักสูตรก่อนนำไปใช้อาจจะดำเนินการโดยสร้างเกณฑ่ในการประเมินหลักสูตรขึ้นมาก่อน  แล้วจึงนำเอาเกณฑ์ที่ตั้งไว้นั้นไปทำการตรวจสอบคุณภาพของเอกสารหลักสูตรต่อไป 
แนวทางในการประเมินหลักสูตรที่เสนอโดยแพร็ท (Pratt, 1980)
1.              จุดมุ่งหมายทั่วไป
2.              เหตุผลและความจำเป็น
3.              จุดมุ่งหมายเฉพาะ
4.              เกณฑ์ในการวัดพฤติกรรม
5.              การประเมินผลเพื่อให้คะแนน
6.              เนื้อหาสาระ
7.              ลักษณะของผู้เรียน
8.              การเรียนการสอน
9.              การจัดการเกี่ยวกับความแตกต่างของผู้เรียน
10.       รายละเอียดในการปฏิบัติ
11.       การทดลองหลักสูตร
12.       การนำหลักสูตรไปใช้
13.       ผลผลิต

2.              กรประเมินการใช้หลักสูตร
เป็นการตรวจสอบว่าหลักสูตรสามารถนำไปใช้ได้ดีกับสถานการณ์จริงเพียงใด  การจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรทำอย่างไร  มีปัญหาอุปสรรคอะไรในการใช้หลักสูตรเพื่อจะได้แก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้นและสามารถใช้หลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
3.              การประเมินผลสัมฤทธิ์ของหลักสูตร
เป็นการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน  ซึ่งประกอบด้วย  ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการและผลสัมฤทธิ์ที่ไม่ใช่วิชาการ  การประเมินผลสัมฤทธิ์ของหลักสูตรเป็นการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน  ซึ่งประกอบด้วยสัมฤทธิผลทางวิชาการและสัมฤทธิ์ผลที่ไม่ใช่ทางวิชาการ
4.              การประเมินระบบหลักสูตร
เป็นการประเมินหลักสูตรในลักษณะที่มีความสมบูรณ์และมีความซับซ้อนมาก การประเมินระบบหลักสูตรจะมีความเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบอื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหลักสูตรด้วย
ประโยชน์ของการประเมินหลักสูตร
1.             ทำให้ทราบถึงจุดดีจุดเสียหลักสูตรที่สร้างหรือพัฒนาขึ้น
2.             ช่วยส่งเสริมและปรับปรุงการสอนให้ดีขึ้น
3.             ช่วยในการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน
4.             ช่วยในการปรับปรุงการบริหารในสถานศึกษา
5.             ช่วยในการแนะแนวทั้งด้านการเรียนและอาชีพแก่ผู้เรียน
6.             ช่วยชี้ให้เห็นถึงคุณค่าของหลักสูตรที่พัฒนา
ขั้นตอนในการประเมินหลักสูตร
                1.  ขั้นกำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมินหลักสูตร  ผู้ประเมินหลักสูตรต้องกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการประเมินให้ชัดเจนก่อนว่าจะประเมินในสวนใดหรือเรื่องใด   นอกจากนี้ผู้ประเมินหลักสูตรต้องกำหนดด้วยว่าต้องการนำข้อมูลมาทำอะไร  การกำหนดขอบข่ายวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการประเมินหลักสูตรอย่างเด่นชัดจะเป็นกรอบของการประเมินผลหรือตัวเสนอแนะรูปแบบของการประเมินผลกลุ่มผู้ให้ข้อมูลวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและการสร้างมือที่ใช้ในการประเมินหลักสูตรได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง
                2.  ขั้นวางแผนออกแบบการประเมินผล  หลังจากที่ผู้ประเมินผลได้ศึกษาและสำรวจเอกสารและผลงานประเมินที่เกี่ยวข้องต่างๆ แล้ว  ผู้ประเมินผลก็พร้อมที่จะตัดสินใจวางรูปแบบการประเมินหลักสูตรได้  สิ่งที่ผู้ประเมินผลจะต้องตัดสินใจกำหนดมีดังนี้  คือ
                                2.1   การกำหนดกลุ่มตัวอย่าง
                                2.2   การกำหนดแหล่งข้อมูล
                                2.3   การพัฒนาเครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
                                2.4   การกำหนดเกณฑ์ในการประเมิน
                                2.5   การหนดเวลา
                3.  ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล  ผู้ประเมินผลเก็บรวบรวมข้อมูลตามกรอบขอบข่ายและระยะเวลาที่กำหนดไว้ในปฏิทินปฏิบัติงานประเมินผล
                4.  ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล  ผู้ประเมินผลกำหนดวิธีการจัดระบบข้อมูลโดยอาจจำแนกเป็นหมวดหมู่  และพิจารณาเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์ที่เหมาะสม
                5.  ขั้นรายงานผลการประเมิน  ภายหลังจากที่วิเคราะห์ข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้วผู้ประเมินผลจะต้องรายงานและเสนอผลการประเมินโดยพิจารณาตัดสินว่าจะให้ออกมาในรูปแบบใด  เป็นความเรียงหรือในรูปของกราฟ  เป็นต้น
ปัญหาในการประเมินหลักสูตร
1.             ปัญหาด้านการวางแผนการประเมินหลักสูตร
2.             ปัญหาด้านเวลา
3.             ปัญหาด้านความเชี่ยวชาญของคณะกรรมการการประเมินหลักสูตร
4.             ปัญหาด้านความตรงของของข้อมูล
5.             ปัญหาด้านวิธีการประเมิน
6.             ปัญหาด้านการประเมินหลักสูตรทั้งระบบ
7.             ปัญหาด้านการประเมินหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง
8.             ปัญหาด้านเกณฑ์การประเมิน
แนวทางสำหรับการประเมินหลักสูตร
                มี  ลักษณะ  คือ
                1.  การประเมินสัมฤทธิ์ผลของหลักสูตร  เป็นแนวทางสำหรับการประเมินหลักูตรที่มุ่งเน้นการศึกษาสัมฤทธิ์ผลที่ได้จากการใช้หลักสูตร
                2.  การประเมินคุณค่าของหลักสูตร  เป็นการประเมินเพื่อดูว่าหลักสูตรสามารถนำไปใช้ในสถานการณ์ที่กำหนดได้เพียงใดและได้ผลตอบแทนที่คุ่มค่าหรือไม่
                3.  การประเมินในลักษณะการตัดสิน  รูปแบบการประเมินหลักสูตรแบบนี้จะมีความเชื่อพื้นฐานอยู่ว่าหลักสูตรที่ดีควรจะส่งผลกระทบต่อการกระทำในอนาคต      
รูปแบบการประเมินหลักสูตร
                แบ่งได้เป็น  ประเภทใหญ่ๆ  คือ
1.  รูปแบบของการประเมินหลักสูตรที่สร้างเสร็จใหม่ๆ  เป็นการประเมินผลก่อนนำหลักสูตรไปใช้  ซึ่งในกลุ่มนี้จะเสนอรูปแบบที่เด่นๆ
2.  รูปแบบของการประเมินหลักสูตรในระหว่างหรือหลังการใช้หลักสูตร  ซึ่งในกลุ่มนี้สามารถแบ่งกลุ่มย่อยได้เป็น  กลุ่ม  ดังนี้
                2.1  รูปแบบการประเมินหลักสูตรที่ยึดจุดมุ่งหมายเป็นหลัก
                2.2  รูปแบบการประเมินหลักสูตรที่ไม่ยึดเป้าหมาย
                2.3  รูปแบบการประเมินหลักสูตรที่ยึดเกณฑ์เป็นหลัก
                2.4  รูปแบบการประเมินหลักสูตรที่ช่วยในการตัดสิใจ
รูปแบบการประเมินหลักสูตรของไทเลอร์
                ไทเลอร์เป็นผู้ริเริ่มให้คำนิยามการศึกษาว่า การศึกษาคือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม”  ดังนั้น  การประเมินหลักสูตรจึงเป็นการเปรียบเทียบว่าพฤติกรรมของผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงไปตามจุดมุ่งหมายที่ได้ตั้งไว้หรือไม่  โดยการศึกษารายละเอียดขององค์ประกอบของกระบวนการจัดการศึกษา  ส่วน  คือ
1.             จุดมุ่งหมายของการศึกษา
2.             การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
3.             การตรวจสอบสัมฤทธิ์ผลของผู้เรียน
รูปแบบการประเมินหลักสูตรองไทเลอร์มีข้อจำกัดอยู่คือ  รูปแบบการประเมินหลักสูตรแบบนี้จะใช้กับหลักสูตรที่วางแผนไว้ล่วงหน้าเรียบร้อยแล้วเท่านั้น
รูปแบบการประเมินหลักสูตรของสเตค
                เป็นรูปแบบการประเมินหลักสูตรที่ยึดเกณฑ์เป็นหลัก  สเตคได้ให้ความหมายของการประเมินหลักสูตรว่าเป็นการบรรยายและตัดสินคุณค่าของหลักสูตร  ซึ้งเน้นเรื่องการบรรยายสิ่งที่จะถูกประเมินโดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิในการตัดสินคุณค่า สเตคจึงเห็นว่าข้อมูลที่ควรจะพิจารณาในการประเมินเห็นว่าหลักสูตรมี  ด้าน  คือ
1.             ด้านสิ่งที่มาก่อน
2.             ด้านกระบวนการเรียนการสอน
3.             ด้านผลผลิต
จากรูปแบบการประเมินหลักสูตรของสเตคนี้จะเห็นว่านอกจากจะพิจารณาข้อมูลทั้ง  ด้าน  ผู้ประเมินยังต้องเก็บข้อมูลดังกล่าวเป็น  ส่วน  คือ
1.              ส่วนที่เป็นการบรรยายหรือที่เรียกว่า ข้อมูลเชิงบรรยาย”  ประกอบด้วยข้อมูล  ชนิด  คือ
                        ข้อมูลที่อธิบายสิ่งที่คาดหวังของหลักสูตรเกี่ยวกับสิ่งที่มีก่อน  กระบวนการเรียนการสอนและผลผลิตของหลักสูตร
                        ข้อมูลที่อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติจริงซึ่งสังเกตได้หรือทดสอบได้เกี่ยวกับสิ่งที่มีก่อน  กระบวนการเรียนการสอน  และผลผลิตของหลักสูตร
2.              ส่วนที่เป็นการพิจารณาตัดสินคุณค่าของหลักสูตรหรือที่เรียกว่า ข้อมูลเชิงตัดสิน”  ประกอบด้วยข้อมูล  ชนิด  คือ
                        ข้อมูลที่เป็นเกณฑ์มาตรฐานซึ่งเป็นแนวความคิดที่ผู้เชียวชาญต่างๆเชื่อว่าควรจะใช้
                         ข้อมูลที่เป็นการตัดสินของบุคลต่างๆซึ่งเป็นความรู้สึกนึกคิดตัดสินคุณภาพและความเหมาะสมของบุคคลต่างๆ
รูปแบบการประเมินหลักสูตรของสตัฟเฟิลบีม
1.            การประเมินบริบท  เพื่อให้ได้ขอมูลการกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรโดยวิเคราะห์หรือสภาวะแวดล้อม  เพื่อให้ได้ข้อมูลในการกำหนดจุดมุ่งหมายหรือจุดประสงค์ต่างๆ ของหลักสูตร
2.            การประเมินปัจจัยตัวป้อน  เป็นการประเมินปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตรซึ่งได้แก่  ปัจจัยด้านบุคลากร  นักเรียน  อุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอน  ฯลฯ
3.            การประเมินกระบวนการ  เป็นการประเมินหลักสูตรในขั้นปฏิบัติการหรือประเมินกระบวนการใช้หลักสูตรเพื่อตรวจสอบดูว่ากิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆ ของการใช้หลักสูตรในสภาพที่เป็นจริงอย่างไร มีปัญหาหรือข้อบกพร่องหรือไม่
4.            การประเมินผลผลิต เป็นการประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการใช้หลักสูตรนั้นเป็นการประเมินผลสัมฤทธิ์ของหลักสูตรโดยตรวจสอบว่าผู้เรียนมีคุณสมบัติตรงตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรหรือไม่เพียงใด

ที่มา https://www.google.co.th/url?sa=t&

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น