วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

การกำหนดจุดประสงค์


      ในการพัฒนาหลักสูตร การกำหนดจุดประสงค์เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากขั้นตอนหนึ่ง เพราะจะบอกถึงความมุ่งหวังว่าจะพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะและความรู้ความสามารถในลักษณะใด  รวมทั้งยังเป็นแนวทางในการกำหนดเนื้อหาสาระ กิจกรรมและประสบการณ์เรียนรู้  รวมทั้งการวัดและประเมินผลการเรียนของผู้เรียน  นักพัฒนาหลักสูตรจึงต้องพิจารณากำหนดจุดประสงค์อย่างรอบคอบ   และกำหนดอย่างชัดเจนและเหมาะสมสอดคล้องกับปรัชญาและค่านิยมของสังคม สภาพปัญหาและความต้องการของสังคมและผู้เรียน  ตลอดจนมีความสมดุลระหว่างความรู้และทักษะหรือระหว่างทฤษฎีกับการปฏิบัติ

ความหมายและระดับของจุดประสงค์
                โดยทั่วไป จุดประสงค์มีหลายระดับ คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้ในแต่ละระดับก็มีหลายคำ เช่น  Educational  Objectives,  Educational  Aims,  Educational  Goals  ซึ่งแต่ละคำมีขอบเขตของการใช้แตกต่างกัน และเมื่อนำไปใช้ในภาษาไทยมักจะใช้ไม่ค่อยถูกต้องกับขอบเขตดั้งเดิม  ดังจะเห็นได้จาก นักวิชาการชาวอเมริกันหลายคนจะแบ่งจุดประสงค์ของการศึกษาออกเป็น 3 ระดับ ใหญ่ ๆ  โดยเรียงลำดับดังนี้

         Philosophy     >       Aims       >    Goals     >      Objectives

ความหมายของจุดประสงค์แต่ละระดับมีดังนี้คือ
                1.  Educational  Aims  ซึ่งในที่นี้หมายถึง  ความมุ่งหมายของการศึกษา”   เป็นจุดประสงค์ปลายทางสูงสุดที่ยึดเป็นหลักในการจัดการศึกษาและหลักสูตร  เป็นความมุ่งหมายในระดับชาติ  และมีความหมายกว้างที่สุดหรือระดับใหญ่ที่สุด  เห็นผลได้ในระยะยาว  นอกจากนี้ยังสะท้อนถึงปรัชญาและค่านิยมทางการศึกษาของประเทศที่ยึดถืออยู่  ยกตัวอย่างเช่น  Ralph  Tyler  ได้สรุปความมุ่งหมายของระบบการศึกษาอเมริกัน  (The  Aims  of  American  Schooling)           ได้  ข้อ  ซึ่งล้วนเป็นความมุ่งหมายที่สะท้อนปรัชญาการศึกษาพิพัฒนนิยม  (Progressivism)  ดังนี้
ก.      เพื่อพัฒนาความเจริญแห่งตน  (Developing  self-realization)
ข.      เพื่อให้แต่ละคนอ่านออกเขียนได้  (Making  individuals  literate)
ค.      เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม  (Encouraging  social  mobility)
ง.       เพื่อให้เกิดทักษะและความเข้าใจที่จำเป็นต่อการทำงานอย่างมีคุณภาพ  (Providing  the  skills  and  understanding  necessary  for  productive  employment)
จ.       เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิผลเกี่ยวกับเรื่องที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม  รวมทั้งการบริการต่าง ๆ   (Furnishing tools requisite for making effective choices regarding material and nonmaterial things and services)
ฉ.      เพื่อเป็นเครื่องมือในการศึกษาต่อ  (Furnishing  the  tools  for  continued  learning)
2.  Educational  Goals  ซึ่งในที่นี้หมายถึง  เป้าประสงค์ของการศึกษา”  เป็นระดับรองลงมาจาก  ความมุ่งหมายของการศึกษา”  (Educational  Aims)  และต้องกำหนดให้สอดคล้องกับความมุ่งหมายของการศึกษาด้วย  นอกจากนี้  ยังเป็นคำศัพท์ที่ใช้เรียกจุดประสงค์ในระดับโรงเรียนและสถาบัน  โพสเตอร์ 3  ได้ให้ความหมายว่า  เป็นผลที่ต้องการจากการศึกษาหลายปีในโรงเรียน  และผ่านเนื้อหาสาระต่าง ๆ  ในระบบ     โรงเรียน  ไม่แสดงการเรียนรู้ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน  แต่จะอธิบายคุณลักษณะ    ต่าง ๆ  ที่ต้องการของผู้เรียนหลังจากที่ได้รับการศึกษาแล้ว
3.  Educational  Objectives  ซึ่งในที่นี้หมายถึง  จุดประสงค์ของการศึกษา”  เป็นระดับรองลงมาจาก  เป้าประสงค์ของการศึกษา”  (Educational  Goals)  และมีความหมายเป็นรูปธรรมมากขึ้น  ชัดเจนขึ้นและเฉพาะเจาะจงมากขึ้น  ซึ่งโรงเรียนหรือครูผู้ใช้หลักสูตรสามารถนำไปปฏิบัติได้

             สำหรับในบริบทไทยนั้น ได้แบ่งระดับจุดประสงค์ของการศึกษาคล้ายคลึงกับนักวิชาการชาวอเมริกัน  เพียงแต่การใช้คำศัพท์ในบางระดับแตกต่างกัน  ขอบเขตของจุดประสงค์แต่ละระดับเรียงลำดับกว้างที่สุดไปสู้แคบที่สุดมีดังนี้
1.  จุดประสงค์ของการศึกษาในระดับชาติ  มักนิยมใช้คำว่า  เป้าประสง”  (Goals)  เป็นความมุ่งหมายระดับสูงสุดที่สะท้อนถึงปรัชญาและอุดมการของชาติในการจัดการศึกษา  มีความหมายเหมือนกับ  “Educational  Aims”  ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น
2. จุดประสงค์ของการศึกษาในระดับการศึกษาหรือประเภทการศึกษา  มักนิยมใช้คำว่า  จุดมุ่งหมาย”  (Purposes)  เป็นจุดประสงค์ปลายทางที่มุ่งหวังในระดับรองลองมาจาก                  เป้าประสงค์”   เป็นผลที่ต้องการจากการศึกษาในระดับหรือประเภทของการศึกษานั้น ๆ เช่น  จุดมุ่งหมายของ  ประถมศึกษา  มัธยมศึกษา  อุดมศึกษา  เป็นต้น  มักปรากฎอยู่ในแผนการศึกษา    แห่งชาติ  แผนพัฒนาการศึกษา  หรือหลักสูตรในระดับนั้น ๆ
3.   จุดประสงค์ของการศึกษาในระดับหลักสูตร  มักนิยมใช้คำว่า  จุดหมาย”  (Aims)  เป็นความมุ่งหมายระดับรองลงมาจาก  จุดมุ่งหมาย”  เป็นผลหรือคุณลักษณะต่าง ๆ ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนเมื่อจบการศึกษาตามหลักสูตรนั้น ๆ เป็นจุดมุ่งหมายที่ค่อนข้างแคบและเฉพาะกว่า               จุดมุ่งหมาย”  เช่น  ในระดับอุดมศึกษาซึ่งมีการแบ่งประเภทหรือสาขาวิชาเฉพาะมากมาย  จุดหมายของหลักสูตรประเภทต่าง ๆ เช่น  หลักสูตรสาขาวิชาบริหารหารศึกษา  หลักสูตรสาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร  ฯลฯ  ซึ่งแคบและชัดเจนกว่าจุดมุ่งหมายของอุดมศึกษา
4.   จุดประสงค์ของการศึกษาในระดับกลุ่มวิชา/กลุ่มประสบการณ์  มักนิยมใช้คำว่า      จุดประสงค์(ทั่วๆไป)”  (Subject  Area  Objectives)  ในแต่ละระดับการศึกษา  จะพบว่ามีวิชา     ต่าง ๆ  ซึ่งสามารถจัดเป็นกลุ่มวิชาหรือกลุ่มประสบการณ์  จุดประสงค์ของการศึกษาในระดับกลุ่มวิชา/กลุ่มประสบการณ์จึงเป็นผลที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนเมื่อเรียนจบกลุ่มวิชา    กลุ่มประสบการณ์ต่าง ๆ  ในระดับชั้นหรือหลักสูตรนั้น ๆ จุดประสงค์ตั้งแต่ระดับนี้ลงไปจะมีความหมายชัดเจนและละเอียดถึงขั้นปฏิบัติได้  รวมทั้งยังเป็นจุดประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับครูและผู้เรียนมากที่สุด
5.  จุดประสงค์ของการศึกษาในระดับรายวิชา  มักนิยมใช้คำว่า  จุดประสงค์(รายวิชา)”  (Course  Objectives)  เป็นผลที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนเมื่อเรียนจบรายวิชานั้น ๆ
6. จุดประสงค์ของการศึกษาในระดับการเรียนการสอน  มักนิยมใช้คำว่า  จุดประสงค์การเรียนรู้หรือจดประสงค์เชิงพฤติกรรม  (Instructional  Objectives  or  Behavioral  Objectives)  เป็นผลที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนเมื่อเรียนจบหน่วยการเรียนหนึ่ง ๆ (Units)  หรือบทเรียน     หนึ่ง ๆ  (Lessons)  ในห้องเรียน  นิยมเขียนเป็นข้อความในรูปของพฤติกรรมที่สามารถวัดได้อย่างชัดเจน  การเขียนหรือกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้มักจะขยายจากจุดประสงค์รายวิชา  จุดประสงค์การเรียนรู้บางข้ออาจพิจารณาขยายจากจุดประสงค์ของรายวิชามากกว่า   1  ข้อก็ได้
ที่มา  คลิก > https://www.google.co.th/url?sa=t&rct

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น