วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

เนื้อหาสาระ (Content) กิจกรรมการเรียนรู้ (Learning Activities)



การจัดเนื้อหาสาระของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานยึดตามมาตรา 23 ใน พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 โดยมีแนวการจัดเนื้อหาสาระ ดังนี้

1. ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ชาติ และสังคมโลก รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความ เป็นมาของสังคมไทย และระบบการเมือง การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2. ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้ง ด้านความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์เรื่องการจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้  ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน
3. ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทย และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
4. ความรู้ และทักษะด้านคณิตศาสตร์ และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่าง ถูกต้อง
5. ความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรง ชีวิตอย่างมีความสุข หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
จึงได้กำหนดสาระการเรียนรู้แกนร่วม แกนเลือก และเลือกเสรี เป็น 8 กลุ่มวิชา ให้เรียนอย่างต่อเนื่องตลอดทั้ง 12 ปี คือ
1) สุขศึกษาและพลศึกษา
2) ทัศนศิลป์ ดนตรี และวัฒนธรรม
3) สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
4) ภาษาไทย
5) คณิตศาสตร์
6) วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
7) การงานและอาชีพ
8) ภาษาต่างประเทศ
ที่มา http://guru.sanook.com/answer/question/%E0

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือให้นักเรียนเกิดองค์ความรู้ ครูสามารถใช้เทคนิคการสอนแบบต่าง ๆ ได้มากมาย ขึ้นอยู่กับลักษณะของวิชานั้น ๆ อย่างไรก็ตาม การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ควรจะมีลำดับขั้นตอนดังนี้
1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจในเนื้อหาที่กำลังจะเรียน สื่อที่ใช้ในขั้นนี้จึงเป็นสื่อที่แสดงเนื้อหากว้าง ๆ หรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนในครั้งก่อน ยังมิใช่สื่อที่เน้นเนื้อหาเจาะลึกอย่างแท้จริง อาจเป็นสื่อที่เป็นแนวปัญหาเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความตระหนักหรือความอยากรู้ และควรเป็นสื่อที่ง่ายต่อการนำเสนอในระยะเวลาอันสั้น
2. ขั้นดำเนินการสอนหรือประกอบกิจกรรมการเรียน เป็นขั้นสำคัญในการเรียน เพราะเป็นขั้นที่จะให้ความรู้เนื้อหาอย่างละเอียดเพื่อสนองวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ผู้สอนต้องเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาและวิธีการสอนหรืออาจจะใช้สื่อหลายแบบก็ได้ ต้องมีการจัดลำดับขั้นตอนการใช้สื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกิจกรรมการเรียน การใช้สื่อในขั้นนี้จะต้องเป็นสื่อที่เสนอความรู้อย่างละเอียด ถูกต้องและชัดเจนแก่ผู้เรียน
3. ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฏิบัติ เป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ตรงแก่ผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้ทดลองนำความรู้ด้านทฤษฎี หรือหลักการที่เรียนมาแล้วไปใช้แก้ปัญหาในขั้นฝึกหัด โดยการลงมือฝึกปฏิบัติเอง สื่อในขั้นนี้จึงเป็นสื่อที่เป็นประเด็นปัญหาให้ผู้เรียนได้ขบคิด โดยผู้เรียนเป็นผู้ใช้สื่อเองมากที่สุด
4. ขั้นสรุปบทเรียน เป็นขั้นของการเรียนการสอน เพื่อการย้ำเนื้อหาบทเรียนให้ผู้เรียนมีความเข้าใจที่ถูกต้องและตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ด้วย ขั้นสรุปนี้ควรใช้เพียงระยะสั้น ๆ เช่นเดียวกับขั้นนำเข้าสู่บทเรียน สื่อใช้สรุปนี้จึงควรครอบคลุมเนื้อหาสำคัญทั้งหมดโดยย่อและใช้เวลาน้อย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น