วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

วิชาการพัฒนาหลักสูตร





สรุปความรู้ วิชาการพัฒนาหลักสูตร



เสนออาจารย์  ผศ.ดร.สุเทพ อ่วมเจริญ


จัดทำโดย

นางสาววรุณรัตน์ เครือพันธ์ศักดิ์


รหัสนักศึกษา 06530051   สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษารายวิชา 462 201

ภาคการศึกษาปลาย  ปีการศึกษา 2555


คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร



มโนทัศน์สำคัญเกี่ยวกับหลักสูตรและทฤษฎีหลักสูตร

ความหมายของหลักสูตร
หลักสูตรมาจากภาษาอังกฤษคือ “ Curriculum ” มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า “Currere” แปลว่าทางวิ่ง หรือลู่ที่นักกีฬาวิ่งเข้าสู่เส้นชัย ( R.C. Das,et al,NCERT,1984:4)
ความหมายของหลักสูตรได้มีนักวิชาการได้ให้คำนิยามแลความหมายไว้ดังนี้
แฟลงกลิน  บอบบิตต์ (Franklin  Bobbitt, 1918) ได้ให้ความหมายไว้ว่า หลักสูตรเป็นรายวิชาหรือเนื้อหาที่กำหนดไว้ให้ผู้เรียนได้เรียน
วีลเลอร์ (Wheeler,1974:11) ให้ความเห็นไว้ว่า หลักสูตรหมายถึง มวลประสบการณ์การเรียนรู้ ซึ่งโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาให้กับผู้เรียน
ชาฟฟาร์ซาอิค และแฮมพ์สัน (Schaffarzaick  and Hampson,eds.,1975:1)  หลักสูตรคือ แผนที่ประกอบไปด้วย จุดมุ่งหมายของการศึกษา ประสบการณ์และการเรียนรู้ ซึ่งจัดไว้ในลักษณะที่ง่ายต่อการประเมินผล
ธำรง  บัวศรี (2531:7) หลักสูตรคือ แผนที่มีการออกแบบ หรือจัดทำขึ้นเพื่อแสดงถึงจุดมุ่งหมาย การจัดเนื้อหากิจกรรม และประมวลประสบการณ์ ในแต่ละโปรแกรมการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนมีพัฒนาการในด้านต่างๆตามจุดหมายที่ได้กำหนดไว้”     (อ้างถึงใน ดร.สุทธนู  ศรีไสย์. การจัดการและการวางแผนพัฒนาหลักสูตร.2551:55-58)     
สรุปความหมายของหลักสูตร
จากการที่นักวิชาการหลายๆคนได้ให้ความหมายของหลักสูตร จึงพอสรุปได้ว่า  หลักสูตร หมายถึง   แนวการจัดประสบการณ์ และ/หรือ เอกสาร ที่มีการจัดทำเป็นแผนการจัดสภาพการเรียนรู้หรือโครงการจัดการศึกษา โดยมีการกำหนดวิธีการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดผลการเรียนรู้ตามจุดประสงค์หรือจุดมุ่งหมายตามที่หลักสูตรกำหนดไว้
ความหมายของทฤษฎี
ทฤษฎี(Theory)หมายถึง หลักการที่ผ่านการพิสูจน์แล้ว และกำหนดขึ้นมาเพื่อจะได้ทำหน้าที่อธิบายการกระทำหรือปรากฏการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง(อาภรณ์  ใจเที่ยง.2525:1 อ้างถึงใน รศ.ดร.ประพิมพ์พรรณ โชคสุวัฒนสกุล.หลักสูตรมัธยมศึกษา.2534:34)
ความหมายของทฤษฎีหลักสูตร
ทฤษฎีหลักสูตร (Curriculum Theory) หมายถึง ข้อความที่อธิบายความหมายของหลักสูตรโดยชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ชี้นำแนวทางการพัฒนาการใช้และการประเมินผลหลักสูตรประกอบกัน (รศ.ดร.ประพิมพ์พรรณ โชคสุวัฒนสกุล.หลักสูตรมัธยมศึกษา.2534:34)
ทฤษฎีหลักสูตรชนิดต่างๆ ทฤษฎีหลักสูตรแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ดังนี้
1. ทฤษฎีแม่บท เป็นทฤษฎีหลักที่กล่าวถึงหลักการ กฎเกณฑ์ทั่วๆไป ตลอดจนโครงสร้างของหลักสูตร
2. ทฤษฎีเนื้อหา เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับเนื้อหา กล่าวถึงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ
3. ทฤษฎีจุดประสงค์ เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงจุดประสงค์หรือจุดมุ่งหมายของหลักสูตร และกล่าวถึงว่าจุดประสงค์นั้นๆได้อย่างไร
4. ทฤษฎีดำเนินการ เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงว่า จะทำหรือดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างไร (กาญจนา คุณารักษ์.2527:5 อ้างถึงใน โกสินทร์ รังสยาพนธ์.2526:25)

แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร และการออกแบบหลักสูตร


SU Model 


                          SU Model คือ รูปแบบจำลองโลกแห่งการศึกษา โดยประกอบด้วยวงกลม ซึ่งเปรียบเสมือนโลกที่มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ คือ 1) พื้นฐานทางปรัชญา 2) พื้นฐานทางจิตวิทยา และ 3) พื้นฐานทางสังคม โดยมีสามเหลี่ยมแห่งการศึกษาที่มีองค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่

·      ด้านความรู้ กำกับด้วยปรัชญาทางการศึกษา ปรัชญา คือ ปรัชญาสารัตถนิยม (Essentialism) ซึ่งมีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเป็นการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม ประเพณี และ ปรัชญานิรันดรนิยม (Perenialism) ที่มีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนด้วยเหตุผล เรียนรู้ในสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระที่มั่นคง
·      ด้านผู้เรียน กำกับด้วยปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) ซึ่ง มีแนวคิดที่ให้บุคคลมีเสรีภาพในการเลือกด้วยตนเอง มีแนวทางการจัดการศึกษาโดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเลือกประสบการณ์ในการเรียน รู้ด้วยตนเอง
·      ด้านสังคม จะกำกับด้วยปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) โดยมีแนวคิดในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนควรเป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เนื่องจากสังคมมีปัญหา
                ใน การพัฒนาหลักสูตรการศึกษาต้องตอบสนองด้านผู้เรียน ด้านสังคมและด้านความรู้ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานทางการพัฒนาที่สำคัญ คือ พื้นฐานทางสังคม พื้นฐานทางจิตวิทยาและพื้นฐานทางปรัชญาและภายในสามเหลี่ยมการศึกษาจะประกอบ ด้วยสามเหลี่ยมเล็กๆภาพ ซึ่งเป็นการจำลองขั้นตอนในการจัดทำหลักสูตรของTyler โดยประกอบด้วย ขั้นตอน ดังนี้
                   ขั้นตอนที่ 1คือ การวางแผน (Planning) ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยความรู้ (Knowledge) และจะสอดคล้องกับคำถามที่หนึ่งของไทเลอร์ คือ มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา เพราะว่าหลักสูตรต้องวางแผนให้มีเนื้อหาครบคลุมในสิ่งที่ผู้เรียนต้องรู้และ ต้องเรียน
                   ขั้นตอนที่ 2 คือ การออกแบบ (Design) ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยผู้เรียน (Learner) และจะสอดคล้องกับคำถามที่สองของไทเลอร์ คือ มีประสบการณ์การศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัด เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการศึกษา เพราะว่าหลักสูตรต้องออกแบบมา เพื่อให้จัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดความรู้แก่นักเรียน
                   ขั้นตอนที่ 3 คือ การจัดการหลักสูตร (Organize) ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยผู้เรียน (Learner), ความรู้ (Knowledge) และสังคม (Society) และจะสอดคล้องกับคำถามที่สามของไทเลอร์ คือจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ เพราะว่าการจัดการหลักสูตรให้ได้ประสิทธิภาพ คือ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีประสิทธิ เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้และบรรลุวัตถุประสงค์พร้อมกับสามารถนำความรู้ ที่ได้ไปใช้ในการอยู่ในสังคม
                   ขั้นตอนที่ 4 คือ การประเมิน (Evaluate) ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยสังคม (Society) และจะสอดคล้องกับคำถามที่สี่ของไทเลอร์ คือ ประเมินประสิทธิ์ผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร เพราะว่าการประเมินผลการเรียน ความรู้และการจัดการเรียนการสอนจะทำให้นักเรียนได้ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ ในสังคม

พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญา, ด้านจิตวิทยา และด้านสังคม


พื้นฐานทางด้านปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาสารัตถนิยมหรือสาระนิยม (essentialism)    ถือว่าบุคคลเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และเป็นเครื่องมือของสังคม บุคคลต้องอุทิศตนเพื่อสังคม สะสมมรดกของสังคม และสืบทอดวัฒนธรรมของสังคมให้คงอยู่ต่อไป การจัดการศึกษาตามแนวคิดนี้จึงมีลักษณะเป็นการถ่ายทอด และอนุรักษ์วัฒนธรรมของสังคม เนื้อหาวิชาที่นำมาสอนจะเป็นการเตรียมผู้เรียนให้มีชีวิตที่ดี เช่น การอ่าน การเขียน เลขคณิต ประวัติศาสตร์วรรณคดี ปรัชญา ศาสนา เป็นต้น
ปรัชญานิรันตรนิยม (parennialism) ปรัชญานี้มีความเชื่อว่า สิ่งที่มีความคงทนถาวร ย่อมเป็นสิ่งที่ดีงามเป็นจริงมากกว่าสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ การจัดการศึกษาจึงควรให้เรียนในสิ่งที่ดีงาม มั่นคง มีเสถียรภาพ เนื้อหาวิชาที่เรียนจะเป็นวิชาที่พัฒนาเชาวน์ปัญญาและจิตใจ เช่น วิทยาศาสตร์ ตรรกศาสตร์ ภาษาศาสตร์ วรรณคดี ไวทยากรศิลปะการพูด คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ และดนตรี ถือเป็นความสำคัญของมนุษย์และเตรียมตัวเพื่อการดำรงชีวิตการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนทุกคนเรียนเหมือนกันหมด
ปรัชญาพิพัฒนาการนิยม หรือปรัชญาพิพัฒน์นิยม หรือปรัชญาวิวัฒนาการนิยม (progressivism) ปรัชญาการศึกษานี้ถือว่า การศึกษาเป็นเครื่องมือของสังคมในการถ่ายทอดวัฒนธรรมแก่ชนรุ่นหลัง มีความเชื่อว่าการศึกษาเป็นชีวิตมากกว่าเป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิต และส่งเสริมวิธีการแบบประชาธิปไตย การจัดการศึกษาตามแนวนี้จะมุ่งส่งเสริมพัฒนาการเด็กทุกด้าน เน้นการปฏิบัติจริง และความสัมพันธ์กับสภาพจริง การจัดการเรียนรู้ยึด ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง กระบวนการจัดการเรียนรู้มีหลายลักษณะยึดหลักความสนใจของผู้เรียนที่จะแก้ปัญหาสังคมต่าง ๆ วิธีการใช้มากคือ การทำโครงการ การอภิปรายกลุ่ม และการแก้ปัญหาเป็นรายบุคคล
ปรัชญาอัตนิยม หรือปรัชญาอัตถิภาวนิยม หรือปรัชญาสวภาพนิยม(existentialism) ปรัชญานี้  มีความเชื่อว่า ธรรมชาติของคน สภาพแวดล้อมทางสังคมเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ ทุกคนสามารถกำหนดชีวิตของตนเองจึงเน้น การอยู่เพื่อปัจจุบัน การปรับตัวให้เข้ากับสภาพของสังคม เผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ได้อยู่อย่างมีความสุขการจัดการศึกษาจึงให้ ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้ การตัดสินใจ สอนให้เด็กเป็นตัวของตัวเอง มีเสรีภาพในการเรียน และเลือกเรียนมีความรับผิดชอบในตนเอง ครูผู้สอนเป็นเพียงผู้ชี้แนะแนวทาง การจัดการเรียนรู้เน้นพัฒนาการของผู้เรียนแต่ละคน วิชาที่เรียนเป็นวิชาที่พัฒนาความสามารถของบุคคลเฉพาะ ลงไป เช่น ศิลปะ ปรัชญา วรรณคดี การเขียน การละครเป็นต้น
ปรัชญาปฏิรูปนิยม(reconstructionism) ปรัชญานี้มีความเชื่อว่าการศึกษาควรจะเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแลงสังคมโดยตรง เน้นการจัดการศึกษาเพื่อสร้างสังคมให้ดี รู้จักการอยู่ร่วมกันในสังคม ช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย ดังนั้นผู้เรียนต้องหาประสบการณ์ด้วยตนเองให้มาก การจัดหลักสูตรยึดอนาคตเป็นศูนย์กลาง มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถและทัศนคติที่จะออกไปปฏิรูปสังคมให้ดีขึ้น เนื้อหาวิชาเน้นหนักในหมวดสังคมศึกษา ด้านพฤติกรรมศาสตร์ อิทธิพลของชุมชน การจัดการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนสำรวจความสนใจและความต้องการของตนเอง ใช้วิธีสอนแบบให้ผู้เรียนค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง เน้นการอภิปราย การแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องปัญหาของสังคม พร้อมให้ข้อเสนอแนะในการปฏิรูปสังคมด้วย ตารางสอนจัดแบบยืดหยุ่น (flexible schedule)
                 ปรัชญาการศึกษาที่กล่าวมา จะเห็นว่าพื้นฐานทางด้านปรัชญามีความสำคัญต่อการพัฒนาหลักสูตรมาก ดังนั้นการจะพัฒนาหลักสูตรไปในทิศทางใดย่อมขึ้นอยู่กับปรัชญาที่ยึดถือ เพราะแนวคิดทางปรัชญาเป็นเครื่องช่วยกำหนดจุดหมาย หลักการ โครงสร้าง และแนวปฏิบัติของหลักสูตรให้ชัดเจนขึ้น ดังนั้นนักพัฒนาหลักสูตรจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในปรัชญาการศึกษาอย่างลึกซึ้ง และสามารถนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการ ในปัจจุบันนี้การพัฒนาหลักสูตรมักเป็นการผสมผสาน ลักษณะของปรัชญาหลาย ๆ ปรัชญาเข้าด้วยกันมิได้ร่างหลักสูตรขึ้นมาตามแนวปรัชญาใดปรัชญาหนึ่ง เนื่องจากแนวคิดของแต่ละปรัชญามีจุดเด่นที่แตกต่างกัน ดังนั้นนักพัฒนาหลักสูตรจึงเลือกนำแนวคิดจากปรัชญา ต่าง ๆ มาผสมผสานและเลือกใช้ตามความเหมาะสม เรียกว่า ปรัชญาการศึกษาผสมผสาน(electicism) เพื่อให้สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมหลาย ๆ ด้านพัฒนาผู้เรียนให้สมบูรณ์และสมดุล และสอดคล้องกับความต้องการของสังคม


พื้นฐานทางด้านจิตวิทยา
ในการจัดทำหลักสูตรนั้น ต้องคำนึงอยู่เสมอว่าต้องพยายามจัดหลักสูตรให้สนองความต้องการและความสนใจของผู้เรียนอย่างแท้จริง ด้วยการศึกษาข้อมูล พื้นฐานเกี่ยวกับตัวผู้เรียนว่าผู้เรียนเป็นใคร มีความต้องการและความสนใจอะไร มีพฤติกรรมอย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับจิตวิทยาทั้งสิ้น ดังนั้นข้อมูลพื้นฐานทางด้านจิตวิทยาจึงเป็นส่วนสำคัญที่นักพัฒนาหลักสูตรจะละเลยมิได้ในการนำมาวางรากฐานหลักสูตร เช่น การกำหนดจุดมุ่งหมายหลักสูตร การกำหนดเนื้อหาวิชา และการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ได้หลักสูตรที่เหมาะสม ที่สุดนักพัฒนาหลักสูตรจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของจิตวิทยา โดยเฉพาะ จิตวิทยาพัฒนาการ  (developmental psychology) และจิตวิทยาการเรียนรู้ (psychology of learning) ซึ่งจิตวิทยาทั้ง 2 สาขานี้จะเกี่ยวข้องกับการจัดทำหลักสูตรโดยตรง นอกจากนี้ นักพัฒนาหลักสูตรยังให้ความสำคัญกับจิตวิทยาทั่วไป (generalpsychology) ในส่วนที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการเรียนรู้ของมนุษย์ด้วยเช่นกันจิตวิทยาพัฒนาการกับการพัฒนาหลักสูตร จิตวิทยาพัฒนาการจะบอกถึงพัฒนาการของมนุษย์ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และเชาวน์ปัญญา ทำให้ทราบถึงความสามารถ ความสนใจ ความต้องการ เจตคติ และศักยภาพด้านต่าง ๆ ที่แตกต่างกันของผู้เรียนแต่ละคนองค์ประกอบของพัฒนาการของมนุษย์ มี 2 ประการคือ
1. วุฒิภาวะ (maturity) หมายถึง กระบวนของความเจริญเติบโตสูงสุดของอินทรีย์ในร่างกายที่ทำให้เกิดความพร้อมที่จะทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในขณะนั้นโดยไม่ต้องอาศัยการฝึกฝนหรือเรียนรู้ใด ๆ หรือเป็นไปโดยธรรมชาติ
2. การเรียนรู้ (learning) เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นผลมาจาก ประสบการณ์ การเรียนรู้อาจเกิดขึ้นด้วยการจูงใจ หรืออาจเกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจก็ได้


พื้นฐานทางด้านสังคมและวัฒนธรรม
บทบาทหน้าที่ที่สำคัญของการศึกษา คือการอนุรักษ์และถ่ายทอดวัฒนธรรมที่ดีงามและสังคมไปสู่คนรุ่นหลังและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทางสังคมให้สอดคล้อง ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยากรด้านต่าง ๆ รวมทั้ง สนองความต้องการและช่วยแก้ปัญหาสังคมในด้านต่าง ๆ ดังนั้นการศึกษา จึงเป็นเครื่องมือในการควบคุมการเปลี่ยนแปลงของสังคมให้เป็นไปในทิศทางที่พึ่งปรารถนา การพัฒนาหลักสูตรจึงต้องให้มีความสอดคล้องกับสภาพทางสังคมและวัฒนธรรมที่แปรเปลี่ยนได้อยู่เสมอ จึงจะสามารถแก้ปัญหาและสนองความต้องการของสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพสังคมกับการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาทำหน้าที่พัฒนาผู้เรียนซึ่งเป็นสมาชิกทางสังคมให้สามารถนำความรู้ความสามารถไปพัฒนาสังคมในการพัฒนาหลักสูตรจึงต้องเริ่มจากข้อมูลต่าง ๆ ของสังคม แล้วจึงกำหนดปัญหาหรือสิ่งที่สังคมต้องการ จนกลายมาเป็นจุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระและกิจกรรมต่าง ๆ บรรจุลงในหลักสูตร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและมีคุณค่าต่อผู้เรียนและต่อสังคมอย่างแท้จริงหน้าที่ทางการศึกษาในส่วนที่เกี่ยวกับสังคม ทำให้การศึกษาและสังคมมีความสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก และเป็นความสัมพันธ์ที่มีลักษณะเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน หรือต่างฝ่ายต่างมีอิทธิพลต่อกัน กล่าวคือเมื่อเกิดมีความเปลี่ยนแปลงหรือความต้องการใด ๆ ขึ้นในสังคมการศึกษาก็ย่อมได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนั้นคือต้องมีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการศึกษาให้สนองความต้องการทางสังคม ในทำนองเดียวกันเมื่อบุคคลในสังคมได้รับการอบรมจาก
การศึกษาหรือได้รับการศึกษาสูงขึ้นออกมาทำหน้าที่ต่างๆในสังคม ก็ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในสังคม เช่นเดียวกัน  ดังนั้นในการพัฒนาหลักสูตรจะต้องพิจารณาว่าใช้หลักฐานกับคนในสังคมใดก็ต้องคำนึงถึงลักษณะของคนในสังคมนั้นว่าจะให้มีลักษณะแบบใด ลักษณะใดที่ต้องการให้เกิดขึ้นและลักษณะใดไม่พึงประสงค์ แล้วกำหนดใช้ในหลักสูตรและแนวดำเนินการของหลักสูตร
วัฒนธรรมกับการพัฒนาหลักสูตร
สิ่งที่ประพฤติประพฤติในสังคมจนเป็นที่ยอมรับว่าดีงามจนกลายเป็นเอกลักษณ์ในสังคมคือวัฒนธรรม คนในสังคมเดียวกันจะมีวัฒนธรรมที่เหมือนกัน วัฒนธรรมจึงเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความเป็นสังคมเดียวกัน ชาติเดียวกันวัฒนธรรมสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตาม กาลเวลาด้วยเหตุปัจจัยต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงด้านการปกครอง การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ กระแสโลกาภิวัฒน์ วิทยาการความเจริญก้าวหน้าต่าง ๆ เป็นต้น การศึกษาจึงทำหน้าที่ทำนุบำรุงรักษาและถ่ายทอดวัฒนธรรมเก่าที่ดีงาม คัดสรรค์วัฒนธรรมใหม่ที่เข้ามาว่าวัฒนธรรมใดควรรับไว้ วัฒนธรรมใดควรปรับปรุงแก้ไข่ให้เหมาะสมกับสภาพของสังคม วัฒนธรรมใดควรสกัดกั้น โดยการบรรจุวัฒนธรรมที่สังคมต้องการถ่ายทอดและสงวนรักษาไว้ในหลักสูตร สกัดกั้นวัฒนธรรมที่ไม่พึงประสงค์ที่จะเข้ามาทำลายความเป็นเอกลักษณ์ของชาติของสังคม
ดังนั้นการพัฒนาหลักสูตรจึงต้องคำนึงถึงวัฒนธรรมประจำชาติ ความเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรม การยอมรับและปรับปรุงวัฒนธรรมในสังคมให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไปในทางที่เหมาะสมกับสังคม นอกจากนี้ในการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรจะต้องฝึกให้ผู้เรียนมีวิจารณญาณในการพิจารณาวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่มีอยู่และที่กำลังหลั่งไหลเข้ามาในสังคมว่าดีหรือไม่ดีอย่างไรควรตัดสินใจรับไว้หรือไม่ รวมทั้งการสร้างภูมิต้านทานต่อวัฒนธรรมที่ไม่พึงประสงค์ให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนด้วย เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมและพัฒนาสังคมไปพร้อมกัน

ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning Theory)


การเรียนรู้(Learning Ecology)
               การเรียนรู้ คือ กระบวนการที่ทำให้มนุษย์เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางความคิด มนุษย์เราสามารถเรียนรู้ได้จาก การได้ยิน การสัมผัส การอ่าน การเห็น รวมถึงผ่านการใช้ สื่อ อุปกรณ์ เครื่องมือ เป็นส่วนส่งผ่าน
ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning theory) 
               หมายถึงข้อความรู้ที่พรรณา / อธิบาย / ทำนาย ปรากฏการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ ซึ่งได้รับการพิสูจน์ ทดสอบตามกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ และได้รับการยอมรับว่าเชื่อถือได้ และสามารถนำไปนิรนัยเป็นหลักหรือกฎการเรียนรู้ย่อยๆ หรือนำไปใช้เป็นหลักในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้แก่ผู้เรียนได้ ทฤษฎีโดยทั่วไปมักประกอบด้วยหลักการย่อยๆ หลายหลักการ
ในเรื่องของการเรียนรู้ มีผู้ให้ความหมายของคำว่าการเรียนรู้ไว้หลากหลาย นักการศึกษาต่างมีแนวคิด โดยนำมาจากพัฒนาการของมนุษย์ ในแง่มุมต่างๆ เกิดเป็นทฤษฎีที่แตกต่างกันไป อาทิ
                การเรียนรู้ (Learning)  คือ กระบวนการของประสบการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างค่อนข้างถาวร ซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้ไม่ได้มาจากภาวะชั่วคราว วุฒิภาวะ หรือสัญชาตญาณ(Klein 1991:2)
                การเรียนรู้ (Learning) คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเนื่องมาจากประสบการณ์ ( ประสบการณ์ตรงหรือประสบการณ์ทางอ้อม) 
                การเรียนรู้ (Learning) คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเนื่องมาจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับ สิ่งแวดล้อมหรือจากการฝึกหัด (สุรางค์ โค้วตระกูล :2539) 
                การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเนื่องมาจากประสบการณ์หรือการฝึกหัด และพฤติกรรมนั้นอาจจะคงอยู่ระยะหนึ่ง หรือตลอดไปก็ได้ 
            การเรียนรู้ (Learning) คือ กระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน

ทฤษฎีการเรียนรู้(Learning Theory) 
มนุษย์สามารถรับข้อมูลโดยผ่านเส้นทางการรับรู้ 3 ทาง คือ
1.             พฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
2.             ปัญญานิยม (Cognitivism)
3.             การสร้างสรรค์องค์ความรู้ด้วยปัญญา (Constructivism)
พฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
พฤติกรรมนิยมมองผู้เรียนเหมือนกับ กระดานชนวนที่ว่างเปล่าผู้สอนเตรียม ประสบการณ์ให้กับผู้เรียน เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ให้ผู้เรียน อาจ กระทำซ้ำจนกลายเป็นพฤติกรรม ผู้เรียนทำในสิ่งที่พวกเขาได้รับฟังและจะไม่ทำการคิดริเริ่มหา หนทางด้วยตนเองต่อการเปลี่ยนแปลง หรือพัฒนาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสิ่ง ต่างๆ ให้ดีขึ้น 

ปัญญานิยม (Cognitivism)
ปัญญานิยมอยู่บนฐานของกระบวนการคิดก่อน แสดงพฤติกรรม การเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมที่จะถูกสังเกต สิ่งเหล่านั้น มันก็เป็นเพียงแต่การบ่งชี้ว่าสิ่งนี้ กำลังดำเนินต่อไปในสมองของผู้เรียน เท่านั้น ทักษะใหม่ๆ ที่จะทำ การสะท้อนส่งออกมา กระบวนการประมวลผลข้อมูลสารสนเทศทางปัญญา 

การสร้างสรรค์องค์ความรู้ด้วยปัญญา (Constructivism)
การสร้างสรรค์ความรู้ด้วยปัญญาอยู่บนฐานของ การอ้างอิงหลักฐานในสิ่งที่พวกเราสร้างขึ้นแสดงให้ปรากฏแก่สายตาของ เราด้วยตัวของเราเอง และอยู่บนฐานประสบการณ์ของแต่ละบุคคล องค์ความรู้จะถูกสร้างขึ้นโดยผู้เรียน และโดยเหตุผลที่ทุกคนต่างมีชุดของประสบการณ์ต่างๆ ของการเรียนรู้จึงมีลักษณะเฉพาะตน และมี ความแตกต่างกันไปในแต่ละคน
ทั้งสามทฤษฏีต่างมีความสำคัญเท่าเทียมกัน เมื่อได้การตัดสินใจที่จะใช้ยุทธศาสตร์นี้ มีสิ่งที่สำคัญและจำเป็นที่สุดของชีวิตที่ต้องพิจารณาทั้งสองระดับ คือ ระดับองค์ความรู้ของนักเรียนของท่าน และระดับการประมวลผลทางสติปัญญาที่ ต้องการในผลงานหรือภาระงานแห่งการเรียนรู้ ระดับการประมวลผลทางสติปัญญาที่ ต้องการสร้างผลงาน/ภาระงาน และระดับความชำนิชำนาญของนักเรียนของเรานี้ การมองหาภาพทางทฤษฎี จะมีความเป็นไปได้ที่สนับสนุนการมีความ พยายามที่จะเรียนรู้ทางยุทธวิธีบางทีก็มีความซับซ้อนและมีความเลื่อมล้ำกันอยู่บ้าง และก็มีความจำเป็นเหมือนๆ กัน ในการวบรวมยุทธวิธีต่าง ๆ จากความแตกต่างที่เป็นจริง ทางทฤษฎี เมื่อเรามีความต้องการ
ที่มา : ไตรรงค์ เจนการ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, สพฐ


ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism)
นักคิดกลุ่มมานุษยนิยมให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์และมองมนุษย์ว่ามีคุณ ค่า มีความดีงาม มีความสามารถ มีความต้องการ และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน หากบุคคลมีอิสระภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพยายามพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทฤษฏีและแนวคิดที่สำคัญๆ ในกลุ่มนี้มี 2 ทฤษฏีและ 5 แนวคิด คือ
- ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น และต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเข้าถึงความต้องการพื้นฐานของ ผู้เรียน และตอบสนองความต้องการพื้นฐานนั้นอย่างพอเพียง ให้อิสรภาพและเสรีภาพแก่ผู้เรียนในการเรียนรู้ มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ซึ่งช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิด ประสบการณ์ในการรู้จักตนเองตามสภาพความเป็นจริง
- ทฤษฎีการเรียนรู้ของรอเจอร์ แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ มนุษย์สามารถพัฒนาตนเองได้ดีหากอยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายและเป็นอิสระ การจัดบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการเรียนเรียนรู้และเน้นให้ผู้เรียน เป็นศูนย์กลาง โดยครูเป็นผู้ชี้แนะและทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน และการเรียนรู้จะเน้นกระบวนการเป็นสำคัญ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเรียนรู้กระบวนการเป็นสำคัญ ควรจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้อบอุ่น ปลอดภัย ครูควรสอนแบบชี้แนะโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้นำทางในการเรียนรู้ของตนและคอยช่วย เหลือผู้เรียนให้เรียนอย่างสะดวกจนบรรลุผล
- แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโคมส์ เชื่อ ว่าความรู้สึกของผู้เรียนมีความสำคัญต่อการเรียนรู้มาก เพราะความรู้สึกและเจตคติของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้ เรียน หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้จึงเน้นถึงความรู้สึกของผู้เรียนเป็น หลัก การสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิด การเรียนรู้ได้ดี
- แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโนลส์ เชื่อว่าผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากหากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ มีอิสระที่จะเรียนและได้รับการส่งเสริมในการพัฒนาด้วยตนเอง หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้เน้นการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการ เรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกสิ่งที่เรียนและวิธีเรียนด้วยตนเอง ลงมือกระทำและยอมรับผลของการตัดสินใจหรือการกระทำของตนเอง
- แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของแฟร์ เชื่อว่าผู้เรียนต้องถูกปลดปล่อยจากการกดขี่ของครูที่สอนแบบเก่า ผู้เรียนมีศักยภาพและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่จะกระทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้เน้นการให้อิสรภาพและเสรีภาพในการ เรียนรู้แก่ผู้เรียน
- แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของอิลลิช เชื่อว่าสังคมแห่งการเรียนรู้เป็นสังคมที่ต้องล้มเลิกระบบโรงเรียน การศึกษาควรเป็นการศึกษาตลอดชีวิตแบบเป็นไปตามธรรมชาติ โดยให้โอกาสในการศึกษาเล่าเรียนแก่บุคคลอย่างเต็มที่ หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้เน้นการจัดการศึกษาต่อเนื่องไปตลอด ชีวิตไปตามธรรมชาติ
- แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนีล เชื่อว่ามนุษย์เป็นผู้มีศักดิ์ศรี มีความดีโดยธรรมชาติ หากมนุษย์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น บริบูรณ์ด้วยความรัก มีอิสรภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพัฒนาไปในทางที่ดีทั้งต่อตนเองและสังคม หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้ คือ การให้เสรีภาพอย่างสมบูรณ์แก่ผู้เรียนในการเรียน จัดให้เรียนเมื่อพร้อมจะเรียนจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาไปตามธรรมชาติ
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bloom ( Bloom's Taxonomy)
Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ 
1.             ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
2.             ความเข้าใจ (Comprehension)
3.             การประยุกต์ (Application)
4.             การวิเคราะห์ ( Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้
5.             การสังเคราะห์ ( Synthesis) สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม เน้นโครงสร้างใหม่
6.             การประเมินค่า ( Evaluation) วัดได้ และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิด ประกอบการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่แน่ชัด

การเรียนรู้ตามทฤษฎีของเมเยอร์ ( Mayor)
ในการออกแบบสื่อการเรียนการสอน การวิเคราะห์ความจำเป็นเป็นสิ่งสำคัญ และตามด้วยจุดประสงค์ของการเรียน โดยแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ 3 ส่วนด้วยกัน 
พฤติกรรม ควรชี้ชัดและสังเกตได้ 
เงื่อนไข พฤติกรรมสำเร็จได้ควรมีเงื่อนไขในการช่วยเหลือ 
มาตรฐาน พฤติกรรมที่ได้นั้นสามารถอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด 
ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง เนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวมความต่อเนื่อง (continuity)
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบรูเนอร์ (Bruner) 

ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์ ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่างๆ ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง เนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม 
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์ (Tylor)
ความต่อเนื่อง (continuity) หมายถึง ในวิชาทักษะ ต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆ และต่อเนื่องกัน 
การจัดช่วงลำดับ (sequence) หมายถึง หรือการจัดสิ่งที่มีความง่าย ไปสู่สิ่งที่มีความยาก ดังนั้นการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ ให้มีการเรียงลำดับก่อนหลัง เพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
บูรณาการ (integration) หมายถึง การจัดประสบการณ์จึงควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียน ได้เพิ่มพูนความคิดเห็นและได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน เนื้อหาที่เรียนเป็นการเพิ่มความสามารถทั้งหมด ของผู้เรียนที่จะได้ใช้ประสบการณ์ได้ในสถานการณ์ต่างๆ กัน
ประสบการณ์การเรียนรู้ จึงเป็นแบบแผนของ ปฏิสัมพันธ์ (interaction) ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์ที่แวดล้อม 
ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ของกาเย่ ( Gagne ) 
ทฤษฎีของกาเย่นี้จะให้ความสำคัญในการจัดลำดับขั้นการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้สิ่งเร้า สิ่งแวดล้อมภายนอกกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ และสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน ว่ามีการตอบสนองอย่างไร เพื่อที่จะจัดลำดับขั้นของการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ถูกต้อง
ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ประกอบด้วย 
  • การจูงใจ ( Motivation Phase) การคาดหวังของผู้เรียนเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้
  • การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase) ผู้เรียนจะรับรู้สิ่งที่สอดคล้องกับความตั้งใจ
  • การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ ( Acquisition Phase) เพื่อให้เกิดความจำระยะสั้นและระยะยาว
  • ความสามารถในการจำ (Retention Phase)
  • ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase )
  • การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase)
  • การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ ( Performance Phase)
  • การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน ( Feedback Phase)ผู้เรียนได้รับทราบผลเร็ว จะทำให้มีผลดี และประสิทธิภาพสูง
องค์ประกอบที่สำคัญที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ 
องค์ประกอบที่สำคัญที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ คือ 
  • ผู้เรียน ( Learner) มีระบบสัมผัสและระบบประสาทในการรับรู้
  • สิ่งเร้า ( Stimulus) คือ สถานการณ์ต่างๆ ที่เป็นสิ่งเร้าให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
  • การตอบสนอง (Response) คือ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้
การสอนด้วยสื่อตามแนวคิดของกาเย่ 
  • เร้าความสนใจ มีโปรแกรมที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน เช่น ใช้ การ์ตูน หรือ กราฟิกที่ดึงดูดสายตา
  • ความอยากรู้อยากเห็นจะเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียน การตั้งคำถามก็เป็นอีกสิ่งหนึ่ง
  • บอกวัตถุประสงค์ ผู้เรียนควรทราบถึงวัตถุประสงค์ ให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียนเพื่อให้ทราบว่าบทเรียนเกี่ยวกับอะไร
  • กระตุ้นความจำผู้เรียน สร้างความสัมพันธ์ในการโยงข้อมูลกับความรู้ที่มีอยู่ก่อน เพราะสิ่งนี้สามารถทำให้เกิดความทรงจำในระยะยาวได้เมื่อได้โยงถึงประสบการณ์ผู้เรียน โดยการตั้งคำถาม เกี่ยวกับแนวคิด หรือเนื้อหานั้นๆ
  • เสนอเนื้อหา ขั้นตอนนี้จะเป็นการอธิบายเนื้อหาให้กับผู้เรียน โดยใช้สื่อชนิดต่างๆ ในรูป กราฟิก หรือ เสียง วิดีโอ
  • การยกตัวอย่าง การยกตัวอย่างสามารถทำได้โดยยกกรณีศึกษา การเปรียบเทียบ เพื่อให้เข้าใจได้ซาบซึ้ง
  • การฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เกิดทักษะหรือพฤติกรรม เป็นการวัดความเข้าใจว่าผู้เรียนได้เรียนถูกต้อง เพื่อให้เกิดการอธิบายซ้ำเมื่อรับสิ่งที่ผิด
  • การให้คำแนะนำเพิ่มเติม เช่น การทำแบบฝึกหัด โดยมีคำแนะนำ
  • การสอบ เพื่อวัดระดับความเข้าใจ
  • การนำไปใช้ กับงานที่ทำในการทำสื่อควรมี เนื้อหาเพิ่มเติม หรือหัวข้อต่างๆ ที่ควรจะรู้เพิ่มเติม
ที่มา http://teacher80std.blogspot.com/2012/06/101-learning-ecology.html

การพัฒนาหลักสูตร (Curriculum Development)

มีนักการศึกษาให้ความหมายของคำว่า “ การพัฒนาหลักสูตร ” ไว้หลายท่านด้วยกัน 

สงัด อุทรานันท์ ได้กล่าวถึงความหมายของการพัฒนาหลักสูตรว่า
“ การพัฒนา ” ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “Development” มีความหมายอยู่ 2 ลักษณะ คือ
•  การทำให้ดีขึ้นหรือทำให้สมบูรณ์ขึ้น
•  การทำให้เกิดขึ้น
ด้วยเหตุนี้การพัฒนาหลักสูตรจึงมีความหมายใน 2 ลักษณะ คือ การทำหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือสมบูรณ์ขึ้น กับการสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่ โดยไม่มีหลักสูตรเดิมเป็นพื้นฐานเลย
ทาบา (Taba) ได้กล่าวไว้ว่า “ การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การเปลี่ยนแปลงปรับปรุงหลักสูตรอันเดิมให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ทั้งในด้านการวางจุดมุ่งหมาย การจัดเนื้อหาวิชา การเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล และอื่นๆ เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายอันใหม่ที่วางไว้ การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบหรือเปลี่ยนแปลงทั้งหมด ตั้งแต่จุดมุ่งหมายและวิธีการ และการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรนี้จะมีผลกระทบกระเทือนทางด้านความคิดและความรู้สึกนึกคิดของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ส่วนการปรับปรุงหลักสูตร หมายถึง การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพียงบางส่วนโดยไม่เปลี่ยนแปลงแนวคิดพื้นฐาน หรือรูปแบบของหลักสูตร 
กู๊ด (Good) ได้ให้ความเห็นว่า “ การพัฒนาหลักสูตรเกิดได้ 2 ลักษณะ คือ การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงหลักสูตร การปรับปรุงหลักสูตรเป็นวิธีการพัฒนาหลักสูตรอย่างหนึ่งเพื่อให้เหมาะสมกับโรงเรียนหรือระบบโรงเรียน จุดมุ่งหมายของการสอน วัสดุอุปกรณ์ วิธีสอน รวมทั้งการประเมินผล ส่วนคำว่าเปลี่ยนแปลงหลักสูตร หมายถึงการแก้ไขหลักสูตรให้แตกต่างไปจากเดิม เป็นการสร้างโอกาสทางการเรียนขึ้นใหม่ 
เซเลอร์ และอเล็กซานเดอร์ (Saylor and Alexander) ให้ความหมายว่า “ การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การจัดทำหลักสูตรเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือเป็นการจัดทำหลักสูตรใหม่โดยไม่มีหลักสูตรเดิมอยู่ก่อน การพัฒนาหลักสูตร อาจหมายรวมถึงการสร้างเอกสารอื่นๆ สำหรับนักเรียนด้วย 
จากความหมายของการพัฒนาหลักสูตรที่นักการศึกษาได้กล่าวไว้ข้างต้น ทำให้สามารถอธิบาย สรุปความหมายของการพัฒนาหลักสูตรได้ว่า การพัฒนาหลักสูตร (Curriculum Development) หมายถึง การจัดทำหลักสูตร การปรับปรุง การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรให้ดีขึ้น เพื่อให้เหมาะกับความต้องการของบุคคล และสภาพสังคม 

การกำหนดจุดประสงค์


      ในการพัฒนาหลักสูตร การกำหนดจุดประสงค์เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากขั้นตอนหนึ่ง เพราะจะบอกถึงความมุ่งหวังว่าจะพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะและความรู้ความสามารถในลักษณะใด  รวมทั้งยังเป็นแนวทางในการกำหนดเนื้อหาสาระ กิจกรรมและประสบการณ์เรียนรู้  รวมทั้งการวัดและประเมินผลการเรียนของผู้เรียน  นักพัฒนาหลักสูตรจึงต้องพิจารณากำหนดจุดประสงค์อย่างรอบคอบ   และกำหนดอย่างชัดเจนและเหมาะสมสอดคล้องกับปรัชญาและค่านิยมของสังคม สภาพปัญหาและความต้องการของสังคมและผู้เรียน  ตลอดจนมีความสมดุลระหว่างความรู้และทักษะหรือระหว่างทฤษฎีกับการปฏิบัติ

ความหมายและระดับของจุดประสงค์
                โดยทั่วไป จุดประสงค์มีหลายระดับ คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้ในแต่ละระดับก็มีหลายคำ เช่น  Educational  Objectives,  Educational  Aims,  Educational  Goals  ซึ่งแต่ละคำมีขอบเขตของการใช้แตกต่างกัน และเมื่อนำไปใช้ในภาษาไทยมักจะใช้ไม่ค่อยถูกต้องกับขอบเขตดั้งเดิม  ดังจะเห็นได้จาก นักวิชาการชาวอเมริกันหลายคนจะแบ่งจุดประสงค์ของการศึกษาออกเป็น 3 ระดับ ใหญ่ ๆ  โดยเรียงลำดับดังนี้

         Philosophy     >       Aims       >    Goals     >      Objectives

ความหมายของจุดประสงค์แต่ละระดับมีดังนี้คือ
                1.  Educational  Aims  ซึ่งในที่นี้หมายถึง  ความมุ่งหมายของการศึกษา”   เป็นจุดประสงค์ปลายทางสูงสุดที่ยึดเป็นหลักในการจัดการศึกษาและหลักสูตร  เป็นความมุ่งหมายในระดับชาติ  และมีความหมายกว้างที่สุดหรือระดับใหญ่ที่สุด  เห็นผลได้ในระยะยาว  นอกจากนี้ยังสะท้อนถึงปรัชญาและค่านิยมทางการศึกษาของประเทศที่ยึดถืออยู่  ยกตัวอย่างเช่น  Ralph  Tyler  ได้สรุปความมุ่งหมายของระบบการศึกษาอเมริกัน  (The  Aims  of  American  Schooling)           ได้  ข้อ  ซึ่งล้วนเป็นความมุ่งหมายที่สะท้อนปรัชญาการศึกษาพิพัฒนนิยม  (Progressivism)  ดังนี้
ก.      เพื่อพัฒนาความเจริญแห่งตน  (Developing  self-realization)
ข.      เพื่อให้แต่ละคนอ่านออกเขียนได้  (Making  individuals  literate)
ค.      เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม  (Encouraging  social  mobility)
ง.       เพื่อให้เกิดทักษะและความเข้าใจที่จำเป็นต่อการทำงานอย่างมีคุณภาพ  (Providing  the  skills  and  understanding  necessary  for  productive  employment)
จ.       เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิผลเกี่ยวกับเรื่องที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม  รวมทั้งการบริการต่าง ๆ   (Furnishing tools requisite for making effective choices regarding material and nonmaterial things and services)
ฉ.      เพื่อเป็นเครื่องมือในการศึกษาต่อ  (Furnishing  the  tools  for  continued  learning)
2.  Educational  Goals  ซึ่งในที่นี้หมายถึง  เป้าประสงค์ของการศึกษา”  เป็นระดับรองลงมาจาก  ความมุ่งหมายของการศึกษา”  (Educational  Aims)  และต้องกำหนดให้สอดคล้องกับความมุ่งหมายของการศึกษาด้วย  นอกจากนี้  ยังเป็นคำศัพท์ที่ใช้เรียกจุดประสงค์ในระดับโรงเรียนและสถาบัน  โพสเตอร์ 3  ได้ให้ความหมายว่า  เป็นผลที่ต้องการจากการศึกษาหลายปีในโรงเรียน  และผ่านเนื้อหาสาระต่าง ๆ  ในระบบ     โรงเรียน  ไม่แสดงการเรียนรู้ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน  แต่จะอธิบายคุณลักษณะ    ต่าง ๆ  ที่ต้องการของผู้เรียนหลังจากที่ได้รับการศึกษาแล้ว
3.  Educational  Objectives  ซึ่งในที่นี้หมายถึง  จุดประสงค์ของการศึกษา”  เป็นระดับรองลงมาจาก  เป้าประสงค์ของการศึกษา”  (Educational  Goals)  และมีความหมายเป็นรูปธรรมมากขึ้น  ชัดเจนขึ้นและเฉพาะเจาะจงมากขึ้น  ซึ่งโรงเรียนหรือครูผู้ใช้หลักสูตรสามารถนำไปปฏิบัติได้

             สำหรับในบริบทไทยนั้น ได้แบ่งระดับจุดประสงค์ของการศึกษาคล้ายคลึงกับนักวิชาการชาวอเมริกัน  เพียงแต่การใช้คำศัพท์ในบางระดับแตกต่างกัน  ขอบเขตของจุดประสงค์แต่ละระดับเรียงลำดับกว้างที่สุดไปสู้แคบที่สุดมีดังนี้
1.  จุดประสงค์ของการศึกษาในระดับชาติ  มักนิยมใช้คำว่า  เป้าประสง”  (Goals)  เป็นความมุ่งหมายระดับสูงสุดที่สะท้อนถึงปรัชญาและอุดมการของชาติในการจัดการศึกษา  มีความหมายเหมือนกับ  “Educational  Aims”  ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น
2. จุดประสงค์ของการศึกษาในระดับการศึกษาหรือประเภทการศึกษา  มักนิยมใช้คำว่า  จุดมุ่งหมาย”  (Purposes)  เป็นจุดประสงค์ปลายทางที่มุ่งหวังในระดับรองลองมาจาก                  เป้าประสงค์”   เป็นผลที่ต้องการจากการศึกษาในระดับหรือประเภทของการศึกษานั้น ๆ เช่น  จุดมุ่งหมายของ  ประถมศึกษา  มัธยมศึกษา  อุดมศึกษา  เป็นต้น  มักปรากฎอยู่ในแผนการศึกษา    แห่งชาติ  แผนพัฒนาการศึกษา  หรือหลักสูตรในระดับนั้น ๆ
3.   จุดประสงค์ของการศึกษาในระดับหลักสูตร  มักนิยมใช้คำว่า  จุดหมาย”  (Aims)  เป็นความมุ่งหมายระดับรองลงมาจาก  จุดมุ่งหมาย”  เป็นผลหรือคุณลักษณะต่าง ๆ ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนเมื่อจบการศึกษาตามหลักสูตรนั้น ๆ เป็นจุดมุ่งหมายที่ค่อนข้างแคบและเฉพาะกว่า               จุดมุ่งหมาย”  เช่น  ในระดับอุดมศึกษาซึ่งมีการแบ่งประเภทหรือสาขาวิชาเฉพาะมากมาย  จุดหมายของหลักสูตรประเภทต่าง ๆ เช่น  หลักสูตรสาขาวิชาบริหารหารศึกษา  หลักสูตรสาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร  ฯลฯ  ซึ่งแคบและชัดเจนกว่าจุดมุ่งหมายของอุดมศึกษา
4.   จุดประสงค์ของการศึกษาในระดับกลุ่มวิชา/กลุ่มประสบการณ์  มักนิยมใช้คำว่า      จุดประสงค์(ทั่วๆไป)”  (Subject  Area  Objectives)  ในแต่ละระดับการศึกษา  จะพบว่ามีวิชา     ต่าง ๆ  ซึ่งสามารถจัดเป็นกลุ่มวิชาหรือกลุ่มประสบการณ์  จุดประสงค์ของการศึกษาในระดับกลุ่มวิชา/กลุ่มประสบการณ์จึงเป็นผลที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนเมื่อเรียนจบกลุ่มวิชา    กลุ่มประสบการณ์ต่าง ๆ  ในระดับชั้นหรือหลักสูตรนั้น ๆ จุดประสงค์ตั้งแต่ระดับนี้ลงไปจะมีความหมายชัดเจนและละเอียดถึงขั้นปฏิบัติได้  รวมทั้งยังเป็นจุดประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับครูและผู้เรียนมากที่สุด
5.  จุดประสงค์ของการศึกษาในระดับรายวิชา  มักนิยมใช้คำว่า  จุดประสงค์(รายวิชา)”  (Course  Objectives)  เป็นผลที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนเมื่อเรียนจบรายวิชานั้น ๆ
6. จุดประสงค์ของการศึกษาในระดับการเรียนการสอน  มักนิยมใช้คำว่า  จุดประสงค์การเรียนรู้หรือจดประสงค์เชิงพฤติกรรม  (Instructional  Objectives  or  Behavioral  Objectives)  เป็นผลที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนเมื่อเรียนจบหน่วยการเรียนหนึ่ง ๆ (Units)  หรือบทเรียน     หนึ่ง ๆ  (Lessons)  ในห้องเรียน  นิยมเขียนเป็นข้อความในรูปของพฤติกรรมที่สามารถวัดได้อย่างชัดเจน  การเขียนหรือกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้มักจะขยายจากจุดประสงค์รายวิชา  จุดประสงค์การเรียนรู้บางข้ออาจพิจารณาขยายจากจุดประสงค์ของรายวิชามากกว่า   1  ข้อก็ได้
ที่มา  คลิก > https://www.google.co.th/url?sa=t&rct