วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา


หลักสูตรมีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษาไม่ว่าระดับใด  เนื่องจากหลักสูตรจะระบุสิ่งที่ คาดหวังที่จะให้เกิดกับผู้เรียน แนวทางการจัดประสบการณ์ต่าง ๆ    ใจทิพย์    เชื้อรัตนพงษ์ (2539,หน้า 11)  ได้เปรียบหลักสูตรเหมือนพิมพ์เขียวของแปลนบ้านที่ใช้ในการสร้างบ้าน  โดยในพิมพ์เขียว   จะแสดงให้เห็นภาพรวมของสิ่งที่เรามุ่งหวัง
การเปรียบเทียบดังกล่าวทำให้มองภาพของพิมพ์เขียวของแปลนบ้านแต่ละแห่งที่มีลักษณะแตกต่างออกไป  ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ทั้งสภาพของที่ตั้งของบ้านที่จะสร้าง  วัสดุอุปกรณ์ที่มี ความประสงค์ของเจ้าของบ้าน  ฯลฯ ดังนั้นหลักสูตรที่ใช้ในสถานศึกษาก็ควรจะมีลักษณะที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพของสถานศึกษานั้น ๆ
แนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาดูเหมือนเป็นกระแสที่ได้รับความสนใจมากทีเดียว สืบเนื่องมาจาก แนวการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช  2542 ซึ่งกำหนดแนวการจัดการศึกษาให้สถานศึกษาจัดสาระของหลักสูตรให้เป็นไปตามกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองดีของชาติ  การดำรงชีวิต  และการประกอบอาชีพ   รวมทั้งจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ในชุมชนและสังคม (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, หน้า 17)
ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของสถานศึกษาในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดรับและส่งเสริมกับหลักสูตรแม่บท  Marsh and Willis (1995, p. 129) ได้ให้ความหมายของการพัฒนา หลักสูตรว่าเป็นกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด ในการพัฒนาหลักสูตรนั้นอาจจะพัฒนาโดยการทำหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่ (สงัด  อุทรานันท์, 2532, หน้า 31)

ที่มา http://library.uru.ac.th/webdb/images/cmu8_files/stor4.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น